บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 วันพฤหัสบดีเช้า
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานในแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายไป มีทั้งหมด 5 กลุ่ม
ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ (กลุ่มของข้าพเจ้าเอง)
เนื้อหา
จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ
หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
การดำเนินการ หมายถึง การกระำท หรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าขึ้นใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์
โดยการป้อนค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า
ดังนั้น จำนวนและการดำเนินการ หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึกเชิงจำนวน
กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด
เนื้อหา
การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับเวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง
การชั่งน้ำหนัก หรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน การสอนเรื่องการวัดให้เด็กชั้นอนุบาลนั้น
การวัดจะไม่มีหน่วย
กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต
เนื้อหา
พีชคณิต เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเรขาคณิต
และการวิเคราะห์
พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยคือ รูปแบบและความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่าง ขนาด
หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต
เนื้อหา
รูปเรขาคณิต หมายถึง รูปทางเราขาคณิต เช่น
รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง
และส่วนลึก หรือหนา
รูปทรงกลม
กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เนื้อหา
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
- การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
- มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย คือการเปรียบเทียบและการประมวลผลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคต
ในเรื่องหรือแต่ละสาระการเรียนรู้ในส่วนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เราสามารถจัดเป็ํนเกมการศึกษา หรือ สามารถนำไปปรับแต่งเป็นนิทานเกี่ยวกับรูปเลขาคณิตก็ได้ เพื่อนให้เด็กได้เกินความสนุกสนานและเข้าใจในบทเรียน หรือ สามารถรู้จักรูปทรง หรือ ตัวเลขต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น